ความหมายของรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

หมายถึง รายงานการสรุปผลการดำเนินงานที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น ซึ่งเป็นรายงานที่แสดงว่าได้มี การศึกษาวิเคราะห์ผล
การดำเนินงานที่ผ่านมาและมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแผนงานที่กำหนดไว้บรรลุผลมากน้อยเพียงใดผ่านเกณฑ์
มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่นับเป็นการทบทวนการปฏิบัติงานของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์ตนเอง และค้นพบปัญหา
อุปสรรคในการดำเนินงาน ตลอดจนหาวิธีหรือ แนวทางในการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ด้วยตนเอง

ความสำคัญของการรายงานการประเมินตนเอง (SAR)




ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
และใช้เป็น หลักฐานในการรับรองการตรวจสอบและประเมินคุณภาพจากหน่วยต้นสังกัด
และหน่วยงาน ภายนอก

ส่วนประกอบที่สำคัญในรายงานการประเมินตนเอง (SAR)


ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ
ส่วนที่ ๒ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ส่วนที่ ๓ รายงานผลการปรับปรุงการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินที่ผ่านมา
ส่วนที่ ๔ ผลการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ส่วนที่ ๕ ภาคผนวก

ประโยชน์ของคู่มือ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)

สถานศึกษาใน ทร.สามารถนำคู่มือไปปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาระบบประกัน
คุณภาพการศึกษา มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งยัง
สามารถรองรับการประเมินภายในจากกองทัพ หรือการประเมินภายนอกจาก สมศ.
ข้าราชการ กปภ.ยศ.ทร. สามารถนำองค์ความรู้ในคู่มือ การเขียนรายงานการประเมิน
ตนเอง (SAR) ไปนิเทศให้ความรู้กับสถานศึกษา/หน่วยงานใน ทร.

องค์ประกอบแห่งความสำเร็จในการจัดทำคู่มือ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)



การทำงานเป็นทีม
ความร่วมมือร่วมใจ และความสามัคคีของทุกคน
ความเสียสละ และความอดทนของทุกคน
ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของแต่ละคน

นิทรรศการการจัดการความรู้ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕

กองประกันคุณภาพการศึกษา แบ่งการจัดหน่วยออกเป็นดังนี้
นิทรรศการการจัดการความรู้ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕
ชื่อผลงาน คู่มือการเขียนรายงานการประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ใน ทร.
เจ้าของผลงาน / สังกัด : ข้าราชการ กปภ.ยศ.ทร. ประกอบด้วย
๑. น.อ.จุมพล ศิริรัตน์ ผอ.กปภ.ยศ.ทร.
๒. น.อ.ชมภู พัฒนพงษ์ รอง ผอ.กปภ.ยศ.ทร.
๓. น.อ.หญิง จิราวรรณ ธีรพงษ์พิศุทธ์ ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา กปภ.ยศ.ทร.
๔. น.ท.หญิง วรรณฑิตา พัฒนพันธุ์ หน.ตรวจสอบและประเมินผล กปภ.ยศ.ทร.
๕. น.ท.ประดิษฐ์ พ้นชั่ว หน.สถิติและวิเคราะห์ข้อมูล กปภ.ยศ.ทร.
๖. น.ต.วิโรจน์ ถาวรวงษ์ ประจำ ผ.ศึกษาช่วยปฏิบัติราชการ กปภ.ยศ.ทร.
๗. น.ต.สุรพิชญ์ คนเที่ยง ประจำ ผ.ควบคุม กปภ.ยศ.ทร.
๘. ร.อ.ประภาส จันทรนคร หน.ธุรการ กปภ.ยศ.ทร.
ประเภทผลงาน : องค์ความรู้สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์
- ด้านการศึกษาระดับต่ำกว่าสัญญาบัตร
- ด้านการศึกษาระดับสูง
- ด้านการบริหารระบบการศึกษา
- ด้านการพัฒนาบุคลากร
- ด้านการบริการความรู้สาขาต่าง ๆ
- ด้านการบริหารทางการศึกษา
- ผลงานด้านอื่น ๆ (โปรดระบุ) ..................................................
ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน : ผลจากการปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ทำให้เกิด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดให้มีระบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปี เสนอต่อหน่วยต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ซึ่งกรอบที่ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา จะเปลี่ยนแปลงทุกวงรอบ ๕ ปี ในปัจจุบันได้เข้าสู่วงรอบการประเมิน วงรอบที่สาม (พ.ศ.๒๕๕๔ - ๒๕๕๘) ได้มีการพัฒนา ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้สูงขึ้น รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้สถานศึกษาต้องจัดทำ รายงานการประเมินตนเองตามกรอบการประเมินใหม่ แต่ปัญหาคือ สถานศึกษาต่าง ๆ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งมี ความแตกต่างกัน ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังสับสนกับกรอบการประเมินใหม่ และบางครั้งข้อมูลที่มีในรายงานการ ประเมินตนเอง ยังไม่สามารถรองรับการประเมินจากกองทัพและ สมศ. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาประเมินสถานศึกษา ดังนั้น กปภ.ยศ.ทร.ในฐานะเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กำกับ ดูแลและพัฒนาระบบประกันคุณภาพ การศึกษาให้กับสถานศึกษาในบังคับบัญชาและในกำกับของ ยศ.ทร.ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ได้ตระหนักและให้ความ สำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำคู่มือการเขียนรายงานการประเมินตนเอง เป็น ๒ ระดับ คือ สำหรับสถานศึกษาในส่วนการศึกษา
ที่หนึ่ง (สถานศึกษาสำหรับนายทหารสัญญาบัตร) และสำหรับสถานศึกษาซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาคในส่วนการศึกษาที่สองและ
ส่วนการศึกษาที่สี่ (สถานศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี กลุ่ม รร.จ่า) อนึ่งในปลายปี งป.๕๔ ที่ผ่านมา ทร.ได้สั่งการเพิ่มเติมให้ นขต.
ทร.ที่มีการจัดฝึกอบรมให้กับกำลังพลของ ทร. ให้นำหลักเกณฑ์และคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการฝึกอบรม การประชุม
การสัมมนา และการบรรยายพิเศษ ตั้งแต่ปี งป.๕๕ เป็นต้นไป เพื่อให้มีความสอดคล้องกับ PMQA (หมวด ๕ การมุ่งเน้นทรัพยากร
บุคคล HR4) แต่เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่้ จึงทำให้แต่ละหน่วยงาน/สถานศึกษาที่มีการจัดอบรม เกิดความสับสนไม่เข้าใจ
ถึงวิธีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ซึ่งจะจัดทำและรายงานผลเสนอ กพ.ทร.หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ดังนั้น กปภ.ยศ.ทร.
จึงไ้ด้จัดทำคู่มือการเขียนรายงานการประเมินตนเอง เพิ่มเติมอีก ๑ ฉบับ สำหรับสถานศึกษาหรือหน่วยงานในกลุ่มนี้ เพื่อให้การ
ปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
ลักษณะของผลงาน : เป็นเอกสารคู่มือสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาและ
หน่วยงานต่าง ๆ ใน ทร.ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ประกอบด้วย
- ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษารายละเอียดในคู่มือ
- ขั้นตอนที่ ๒ รวบรวมข้อมูลทั้งหมด
- ขั้นตอนที่ ๓ วิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลเป็นตัวรายบ่งชี้ เป็นรายมาตรฐาน และภาพรวม
ระดับสถาบัน
- ขั้นตอนที่ ๔ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)
- ขั้นตอนที่ ๕ จัดเก็บเอกสาร / หลักฐานอ้างอิงให้เป็นระบบ หมวดหมู่ ตามตัวบ่งชี้และมาตรฐานที่กำหนด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : เกิดจากความร่วมมือของข้าราชการทุกนายของ กปภ.ยศ.ทร.ในการระดมสมองกำหนดกรอบและ
รูปแบบในการเขียนจัดทำคู่มือการเขียนรายงานการประเมินตนเอง โดยอาศัยข้อมูลที่ กปภ.ยศ.ทร.พบจากการไปประเมินคุณภาพ
สถานศึกษาต่าง ๆ ในความรับผิดชอบ จากการสัมมนาต่าง ๆ ที่ผ่านมา และการจัดการอบรมนิเทศงานประกันคุณภาพการศึกษา
และประกันคุณภาพการฝึกอบรม ให้กับสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ใน ทร.
ผลสัมฤทธิ์ :
๑. สถานศึกษาต่าง ๆ ทุกแห่ง ที่มีการจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา สามารถนำคู่มือฯ ไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะทำให้การพัฒนา
ระบบประกันคุณภาพการศึกษามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งยังสามารถรองรับการประเมินคุณภาพ
จากกองทัพ หรือหน่วยงานภายนอกได้โดยสะดวก
๒. สถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานใน ทร.ทุกแห่ง ที่มีการจัดฝึกอบรม จัดประชุม จัดสัมมนา และจัดบรรยายพิเศษ สามารถ
นำคู่มือฯ ไปปฏิบัติได้ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการฝึกอบรม มีคุณภาพได้มาตรฐาน และไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งยังสามารถรองรับการประเิมินคุณภาพในระบบ PMQA จากหน่วยงานภายนอกได้โดยสะดวก
๓. ข้าราชการของ กปภ.ยศ.ทร.สามารถนำแนวทางการดำเนินงานนี้ในคู่มือฯ ไปนิเทศให้ความรู้งานประกันคุณภาพการศึกษาให้
กับสถานศึกษาต่าง ๆ ใน ทร. (๑๓ สถานศึกษา ที่จัดทำประกันคุณภาพการศึกษาใน ทร.)
๔. ข้าราชการของ กปภ.ยศ.ทร.สามารถนำแนวทางการดำเนินงานนี้ในคู่มือฯ ไปนิเทศให้ความรู้งานประกันคุณภาพการฝึกอบรม
ให้กับสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ใน ทร.(ทุก นขต.ทร.) ที่มีการจัดทำประกันคุณภาพการฝึกอบรม
ความภาคภูมิใจ :
๑. สถานศึกษาในบังคับบัญชาและในกำกับของ ยศ.ทร.สามารถใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ไป
ประยุกต์ใช้กับสถานศึกษาของตน
๒. ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากข้าราชการทุกนายใน กปภ.ยศ.ทร.เกิดพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และมีความรู้สึก
ถึงการมีส่วนร่วม ในการทำงานเป็นทีม และเิกิดความสามัคคีในหมู่คณะ