( ตัวสะกดต่าง ๆ เป็นไปตามต้นฉบับเดิมที่ทรงใช้สมัยนั้น )

แผนการเดินเรือดำน้ำได้ทรงแบ่งออกเปนสี่ตอนคือ

๑. เรื่องเรือ “ส” ทั่วไป

. เรื่องเรือ “ส” ในกรุงสยาม

. ความเห็นเรื่องการจัดการเรือ “ส” ในกรุงสยาม

. แปลนการส่งนักเรียนเรือ “ส”

พระองค์ทรงอธิบายในเรื่อง “ส” ทั่วไปว่า

เรือประเภท “ส” นั้น จะใช้เปนคำย่อสำหรับเรือใต้น้ำหรือเรือดำน้ำ (Submarine หรือ Submersible Boat) ...รูปเรือที่จะแล่นใต้น้ำได้ดีแล้วต้องเปนรูปที่ทนน้ำหนักของน้ำได้ดี แลเวลาแล่นรูปประพรรณของเรือต้องไม่ทวนน้ำมาก จนกระทำให้เสียกำลังเร็ว การที่จะกระทำให้สำเร็จทั้งสองข้อนี้ เรือต้องมีรูปกลม แหลม คือหัวแหลม ท้ายแหลม (cylindro conical) ซึ่งคล้าย ๆ กันกับเรือเหาะ เพราะรูปนี้เปนอันตกลงตามรายการทดลองว่าทนน้ำหนักของน้ำได้ดีที่สุด แลไม่ทวนน้ำมากนัก แต่สำหรับแล่นบนน้ำแล้วรูปเรือเปน (cylindro conical) ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นจะทนคลื่นไม่ได้เลย จึงต้องทำเปนรูปเรือจริง ๆ ที่กินน้ำลึก เพราะตามธรรมดาเรือที่กินน้ำลึกยิ่งทนคลื่นได้ดี เพื่อที่จะผสมลักษณะทั้งสองนี้ เรือ “ส” จึงต้องมีเปลือกสองชั้นคือ ในชั้นในเปนรูป (cylindro conical) แลต่อด้วยเหล็กอย่างแข็งแรงมาก เพื่อจะทนน้ำหนักให้ได้ ชั้นนอกจึงต้องทำเปนรูปเรือธรรมดา เพื่อจะให้ทนคลื่นได้...

กล่าวถึงการใช้เรือ “ส” ทั่วไป

. สำหรับป้องกันท่าเรือ (Harbour defence)

. ป้องกันฝั่งที่สำคัญซึ่งข้าศึกอาจขึ้นบกยิงทำลายป้อมหรือสถานีวิทยุ โทรเลข (Coast defence)

. ออกไปเข้าช่วยรบในกระบวนทัพเรือคู่กับเรือพิฆาฎ หรือมีหน้าที่อิศระเข้าโจมตีกองทัพเรือข้าศึก

. ใช้เข้าไปสืบข่าวที่ฝั่งของข้าศึกหรือพยามเข้าไปทำลายเรือรบที่จอดอยู่ในท่าเรือ หรือปิดการเดินเรือแลการค้าขายของข้าศึก (Commercial of military Blockade)

อาวุธสำคัญของเรือ “ส” นี้ เปนความตกใจของข้าศึก (moral effect) เปนแน่ถ้าถูกเข้าโจมตีแล้ว ไม่อาจรู้ได้ว่าเปนเรือ “ส” หรือทุ่นระเบิด เพราะฉนั้นเรือ “ส” อาจกระทำการโจมตี (to make an attack) ได้ตั้งสามหนอย่างเรือ U9...

กล่าวถึงการมีเรือ “ส” ในเมืองไทยถามว่าเรือ “ส” จะมีในเมืองไทยได้หรือไม่แล้วต้องขอตอบว่าได้เปนแน่ แต่เราต้องดูก่อนว่า ประโยชน์ที่จะได้จากเรือ “ส” นั้นจะคุ้มค่ากับเงินแลชิวิตร์ความลำบากของคนเราหรือไม่ หรือถ้าเอาเงินนี้ไปซื้อเรือชนิดอื่น หรือไม่ซื้อเรือเลย เอาไปทำสิ่งอื่นเสียจะมีประโยชน์กว่าการมีเรือ “ส” สำหรับป้องกันบ้านเมืองหรือไม่ ในที่นี้จะได้ขอพิจารณาว่าเราควรจะมีเรือ “ส” หรือไม่ แลมีแล้วจะผิดกับไม่มีเพียงไร แลถ้าต้องการมีแล้วควรจะมีชนิดใดการที่จะมีเราจะต้องนึกถึงความลำบากพิเศษต่าง ๆ ซึ่งเฉพาะเมืองเราจะมี เพราะไม่มีเมืองใดจะมีความลำบากอย่างนี้ถ้าเรามีเรือ ส แล้ว

. ข้าศึกจะต้องนึกถึงเรือ ส ของเราด้วยในเวลาที่เขาจะจัดกองทัพเข้ามาตีกรุงสยาม      สงครามนี้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของเรือ ส       เพราะฉนั้นเพื่อจะหนีอันตรายเรื่องเรือ ส ข้าศึกคงไม่ส่งเรือใหญ่เข้ามาเพื่อให้เปนเป้าแก่เรือ ส ได้ แลคงจะไม่ส่งเรือที่แล่นช้ามาเปนแน่ เพราะเรือช้าจะเปนอันตรายได้ง่ายกว่าเรือเร็ว ตามเหตุสองข้อนี้ข้าศึกคงข้าศึกคงจะส่งเรือเล็กแลเร็ว เพราะฉนั้นจะต้องส่งหลายลำ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยแพงเงินขึ้น

การขนทหารด้วยเรือเล็กจะลำบากกว่าเรือใหญ่ การส่งเสบียงอาหารจะเปนการลำบากมาก เพราะจะต้องมีเรือรบคุมเสมอ

ถ้าเรือที่ส่งเข้ามาเปนเรือเล็กแล้วจะต้องมีช่องทางเรือพิฆาฎแลเรือปืนของเราต่อสู้โดยไม่เสียเปรียบนักเพราะเราก็มีแต่เรือเล็กเหมือนกัน

. การสืบข่าวในทะเลใหญ่จะใช้เรือ ส ได้ แต่ถ้าใช้เรือพิฆาฎแล้วจะเห็นได้ไกลกว่า แต่เรือ ส ดีกว่า เพราะดำน้ำหนีได้ด้วย

การสืบข่าวในทะเลใหญ่จะใช้เรือ ส ได้ดี (เพราะว่าข้าศึกคงจะมาจับจ้องที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อไว้เปนฐานทัพของเขา)

(หมายเหตุ เรือ เยอรมันได้ไปรอบเกาะอังกฤษหลายหนแล้ว แลได้ส่งข่าวได้อย่างละเอียดมาตั้งแต่เดือนตุลาคม)

(ทรงให้ความหมาย แปลว่าใต้น้ำ แล แปลว่าบนน้ำ)

. ถ้าเรามีเรือ ส แล้วในเขตร์ท้องทะเลจะเปนที่อันตรายได้จากเรือ ส ของเราได้ (Sphere of Submarine danger) เพราะฉนั้นเวลาข้าศึกเข้ามาถึงในเขตร์นี้แล้ว จะต้องระวังอยู่เสมอไม่ให้เรือ ส เข้าโจมตีในเมื่อไม่รู้ตัวได้ การระวังอันนี้แลทำให้คนประจำเรือได้รับความลำบากมาก

(หมายเหตุ เรือ B 11 ของอังกฤษได้ลอดแถวระเบิดเข้าไปใน Dardanelles ถึงสองแถว แลได้ยิงตอร์ปิโดทำลายเรือรบ “Uessnelife” ของตุรกี)

. ถ้าข้าศึกจะขึ้นบกที่ใหนแล้ว      จะตั้งกองรักษาการด้วยเรือพิฆาฎให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เรือ ส ดำเข้าไปทำลายเรือบรรททุกของได้ในเวลาที่ขนทหารขึ้นบกเรือลำเลียงก็จะต้องมีเรือควบคุม (Convoy) เสมอ

. ถ้าจะมายิงป้อมปากน้ำหรือที่ใด ๆ ก็ดี จะมาทอดสมอยิงตามสบายไม่ได้ เพราะอาจเปนเป้าให้เรือ ส ได้ เพราะฉนั้นจะต้องแล่นไปมาอยู่เสมอ เหตุฉนั้นมีผลคือ

. การยิงจะแน่นอนได้น้อยลงกว่าอยู่กับที่

. เราอาจวางทุ่นระเบิดตามหนทางได้เพื่อให้แล่นเข้าไปโดน

. กลางวันจะต้องระวังเรือ ส กลางคืนจะต้องระวังเรือตอร์ปิโด

(หมายเหตุ ถ้าข้าศึกจะมายิงอะไรแล้วต้องมากลางวัน เพราะการตรวจกระสุนปืนกลางคืนนั้นลำบากมาก แลจะถูกเรือตอร์ปิโดเข้าโจมตี เพราะฉนั้นกลางคืนคงต้องถอยออกไปไกล ในระหว่างนั้นเราจะวางทุ่นระเบิดได้ ถ้าเรือวางทุ่นระเบิดข้ามสันดอนได้เสมอทุก ๆเวลา)

. ถ้าข้าศึกจะปิดปากน้ำเจ้าพระยาแล้ว ถ้าเรือ ส อยู่มากจะทำให้ข้าศึกต้องคิดว่าที่เราไม่มีเรือ ส คือ

. ต้องระวังตังเองมาก

. เราอาจลอดแนวเรือรบของข้าศึกออกไปได้โดยเวลาที่เราผ่านสันดอนเราแล่นดำน้ำเสียแต่เพียงครึ่งตัว (awash) เวลาเห็นข้าศึกเราก็ดำลงเสียเลย เพราะฉนั้นข้าศึกจะต้องมีเรือพิฆาฎเร็ว ๆ เพื่อสำหรับจับเราด้วยอีก

. ถ้าเรามีกองทัพ ส ใหญ่พอที่จะออกทะเลได้นาน ๆ อาจไปเปิด (ฐานทัพ) เบสของข้าศึกได้ หรือมิฉนั้นคอยดักจับเรือสินค้าข้าศึก เปนต้นว่าที่ช่องมะละกาซึ่งเรือผ่านมาก แลมีกำบังตัวอย่างดี

. ในสุดท้ายถ้าเรารักษาทะเลไม่ได้แล้วจริง ก็ต้องใช้เรือ ส เปน Submarine torpedo battery สำหรับป้องกันปากน้ำ ซึ่งเปนการลดประโยชน์การที่เรือ ส เดินได้มาก แต่กว่าเราจะสิ้นอำนาจในทะเลเรือ ส ก็คงไม่เหลือกี่ลำ

...ได้กล่าวแต่ประโยชน์ของเรือ ส. ยังไม่ได้กล่าวถึงการขัดข้องสำหรับการมีเรือ ส ในเมืองไทย ข้อขัดข้องนั้นมีหลายประการดังจะกล่าวต่อไปนี้

. ด้วยภูมิประเทศของเราไม่ดี น้ำตื้นโดยมาก

. ฝั่งของเราไม่มีอ่าวที่ดีจะใช้กำบังตนได้ตลอดปี แลไม่มีที่กำบังตาเวลาจะหนีหรือใล่

. เสบียงอาหาร น้ำ น้ำมัน แลที่แก้ไขเครื่องจักร์หาไม่ใคร่จะสมบูรณ์นอกจากกรุงเทพ ฯ

. น้ำขึ้นลงผิดกันมากแลมีสายน้ำแรง

. เรายังไม่มีแผนที่ ๆ ดีพอแลยังมีที่สำคัญหลายแห่ง ซึ่งเรายังไม่ได้ตรวจทำแผนที่ จึงยังมีหินใต้น้ำที่เรายังไม่รู้จักอยู่มาก

. อากาศร้อนมาก จึงเปนการยากที่มนุษย์จะอยู่ในเรือ ส ได้ทั้งความร้อนก็ทำให้เก็บของยาก เช่น กระสุนดินระเบิด แลอาหาร แลเครื่องใช้ต่าง ๆ เปนต้นสิ่งเหล่านี้ถ้าเสียทำให้ส่งกลิ่นไม่ดีถึงกับเปนพิศม์ได้...

ข้อสำคัญนั้นอยู่ที่คน เราจะรบความลำบากสิ่งอื่นชะนะหรือไม่นั้นอยู่ที่ตัวคนแลการรบด้วยเรือ ส นี้ความสำเร็จพึ่งอยู่ที่คนเปนที่สุด แต่คนไทยนั้นมีความมั่นคง (Energetic) ไม่ถึงกึ่งของชาวยุโรป แลจะทำอะไรก็เบื่อง่าย จริงอยู่ไทยเปนคนไหวพริบมาก แลเข้าใจใช้เครื่องกลต่าง ๆ ดีที่สุด แต่เมื่อใช้ไปแล้วได้ความลำบากก็เบื่อทิ้งความลำบาก ส่วนการอยู่นั้นพอทนได้ แต่การรับประทานนั้นเปนของยากที่สุด

นายทหารมีบุตรภรรยาแต่เด็ก ๆ เพราะฉนั้นต้องกังวลการเลี้ยงชีพเปนที่ตั้ง ราชการจึงเปนสิ่งที่สอง แลยังไม่มีความรู้พอที่จะทำการได้ แต่ว่าจะเรียนเติมขึ้นได้ ไม่ค่อยมีความยินดีรับผิดชอบ เพราะจะทำให้ไม่เปนอิศระแกตนเลย ชอบคอยฟังแต่คำสั่งเท่านั้น คือต้องมีคนรับผิดชอบแทน เหตุนี้เพราะโดยมากต้องเลี้ยงชีพด้วยเงินเดือน จึงไม่หยากทำผิดให้ขาดผลประโยชน์ที่ได้ จึงไม่ค่อยยินดีทำราชการทำเพื่อเปนเครื่องเลี้ยงชีวิตเท่านั้น นายทหารเราไม่ค่อยได้ออกทะเลเพราะฉนั้นโดยมากกลัวน้ำเค็ม แลไม่ชอบอยู่เรือ เพราะการอยู่เรือในเมืองร้อนไม่สบายจริง ๆ เราไม่ใคร่รู้จักรักษาของให้ดีพอเพราะสิ่งของเปนของหลวง เรือ ส ต้องรักษามาก เพราะฉนั้นสิ่งนี้ต้องเรียน...”

"การสร้างเรือ ส สำหรับกองทัพเรือของประเทศสยาม...ในหนังสือฉบับนี้จะได้คิดถึงแต่การทหารแลการป้องกันอันตรายของเรือ ส เท่านั้น..

แปลนจึงได้แบ่งเปนสองตอน ตอนที่หนึ่งมีสองคั่น แลเมื่อเราทำคั่นที่หนึ่งสำเร็จแล้ว ก็จะเริ่มคั่นที่สองได้โดยเพิ่มเติมเรือแลคนเท่านั้น แต่ตอนสองนั้นได้คิดไว้สองอย่าง (alternatives) คืออย่างใหญ่อย่างหนึ่ง เล็กอย่างหนึ่ง เรียกว่า ก. แล ข. แลได้ทราบได้แต่ต้นมือว่าถ้าถึงเวลาแล้วจะทำอย่างไหน จะได้เตรียมไว้เสียตอน ๑ คั่น ๑... ถ้าสำเร็จตอนหนึ่งคั่นหนึ่งแล้ว เราจะรักษาปากน้ำทั้งสี่แลเกาะสีชังด้วยเรือ ส ได้ตามความคาดหมาย

ตอน ๑ คั่น ๑ คั่น ๒ จะรักษาท้องทะเลเหนือเส้นเกาะจวนเกาะกูดสามร้อยยอดได้

ตอน ๒ ก. จะรักษาได้ถึงเกาะสมุยเปนอย่างไกล

ตอน ๒ ใหญ่ อาจทำ offensive ออกไปถึงสิงคโปร์

ตอน ๑ คั่น ๑ เรือในคั่นนี้จะมีเรือ ส. สองลำ มีน้ำหนัก ๑๗๐ ตัน ประมาณ ๒๓๐ ตัน (ระวางขับน้ำเมื่ออยู่ผิวน้ำ ๑๙๐ ตัน แลระวางขบน้ำเมื่ออยู่ใต้น้ำ ๒๓๐ ตัน)

การต่อทั้งสองลำจะกินเวลา ๔ ปี นับตั้งแต่ต้นวางกงลำที่ ๑ จนจบการทดลองลำที่ ๒ ชนิดเรือนั้นจะต้องเปนเรือดำน้ำ เพราะเราจะใช้รักษาทะเลเปนพื้นด้วยเหตุที่เรามีน้อยลำ เพราะฉนั้นจะต้องให้แล่นเร็วแลให้ทนคลื่นให้ด้วย เดินบนน้ำประมาณ ๑๕ น๊อต เปนอย่างสูง ใต้น้ำ ๙.๕ น๊อต

การสร้างเรือ การที่จะเลือกที่สร้างที่สร้างเรือนั้น ต้องมีมูลดังนี้ คือ

๑. สร้างที่ไหนที่เราจะสร้างได้ถูกที่สุด โดยวิธีเลือกประมูล วิธีนี้จะได้เรือถูกจริง แต่จะให้ดีหรือไม่นั้นเปนข้อที่จะตอบยาก แลการสร้างเรือ ส นี้ เปนการที่ไม่ควรจะประกาศ ชาติอื่นไม่เห็นเคยทำอย่างนี้

. สร้างที่ในประเทศที่ไม่มี Poltical Interests ในประเทศสยาม เช่นประเทศอิตาลี

. สร้างในประเทศที่รับสอนนายทหารไทยเพราะประเทศที่รับสอนนายทหารย่อมได้รับความเหน็ดเหนื่อยในการสอนก็ย่อมหวังผลประโยชน์ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าเราสร้างเรือในประเทศเขาแล้วเขาก็ได้เงินแลยินดีที่เราไว้ใจเขา แลนักเรียนที่ส่งไปเรียนประเทศนั้นย่อมรู้จักของ ๆ ประเทศนั้นดีกว่าที่อื่นด้วย

. สร้างที่เรายินดีเห็นชอบแก่ชนิดของเรือ อย่างนี้เปนดีที่สุด เพราะเราจะเลือกได้ตามใจ       ในสิ่งที่เราเห็นดีสำหรับป้องกันบ้านเมือง แต่การรับผิดชอบจะอยู่ที่ผู้เลือกมาก

...ในที่สุดนี้ จะขอกล่าวอีกทีหนึ่งว่า เราควรจะวินิจฉัยเสียให้เด็จขาด ว่าควรจะมีเรือ ส หรือไม่ เพราะว่าถ้าจะมีแล้วเข้าใจว่า กองเรือ ส จะเปนส่วนสำคัญของกองทัพเรือไทยอย่างหนึ่ง เพราะฉนั้นถ้าเราจะมีแล้วควรจะมีให้ใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่มีสำหรับประดับพระเกียรติยศ หรือเมื่อเห็นว่าควรจะมีไว้บ้าง อย่ามีเสียเลยดีกว่าไม่เสียเงิน

แต่ถึงอย่างไรควรมีหรือไม่นั้นเราควรจะคิดเดาเอาเอง ควรส่งคนออกไปเรียนให้รู้จริงเราจะได้เชื่อได้ว่าเราประพฤติถูกในการที่มีหรือไม่แลการที่มีคนมีความรู้ในเรื่องนี้ ถึงเราจะไม่เห็นด้วยว่าควรมีเรือ ส หรือไม่มีกำลังที่จะมีได้ ก็จะได้ไม่เห็นเปนของแปลกประหลาดอะไร สมมุติถ้าข้าศึกของเราจะใช้เรืออย่างนี้ เราจะได้รู้ทางหนีที่ไล่ได้ คงไม่เสียทีโดยความเขลา... เพราะฉนั้นการเรียนนั้นคงจะไม่เสียเปล่าเปนแน่ เหตุฉนั้น จึงมีสภาษิตว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” เราควรต้องรู้ว่าเขาหมายความว่าอะไร ไม่เพราะว่าให้เรียนไว้กว่าไม่ใช่หรือ?”