วิธีการศึกษา

Release Date : 25-10-2020 16:40:54
วิธีการศึกษา

 

      1. การศึกษาด้วยตนเอง
เป็นการศึกษาในลักษณะรายบุคคล โดย รร.ชต.ยศ.ทร.  จะจัดเวลาให้ นทน. สามารถค้นคว้าข้อมูล และทำการศึกษาด้วยตนเอง ตามจำนวนชั่วโมงค้นคว้าที่กำหนดไว้ในสาระหลักสูตรต่อหมวดวิชา เพื่อให้มีความพร้อมในการเรียนการสอนในรูปแบบ ACTIVE LEARNING       
       2. การบรรยาย

เป็นการบรรยายในห้องเรียนโดยอาจารย์ประจำ ยศ.ทร. รวมทั้งอาจารย์ทั้งภายใน และภายนอก ทร. โดย นทน. ควรศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนแบบ ACTIVE LEARNING     
      3. การแบ่งกลุ่มอภิปราย (การสัมมนา)
          ดำเนินการโดยจัด นทน. เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มให้มีจำนวน นทน. เท่าๆกัน เพื่อแสดงความคิดเห็น ได้อย่างกว้างขวาง ในหัวข้อปัญหาตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด และให้ได้ข้อยุติ  ซึ่งอาจเกิดข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาใดๆ ได้ ในระหว่างการอภิปรายอาจารย์ประจำกลุ่มสัมมนา (DS) จะเป็นผู้ให้คะแนนทางด้านวิชาการ และการประเมินคุณลักษณะส่วนบุคคลไปในเวลาเดียวกัน       
       4. การอภิปรายเป็นคณะ (การแถลงผล)

เป็นการนำเสนอผลงาน แนวความคิด ข้อคิดเห็น ข้อสรุป ในรูปแบบผลงานกลุ่มที่ได้จากการ แบ่งกลุ่มอภิปราย ต่อคณะอาจารย์และอาจารย์ประจำกลุ่มอภิปรายเป็นคณะ ซึ่งจะมีการวิจารณ์ ตอบข้อสงสัย ข้อซักถามจากทั้งคณะอาจารย์ และ นทน.
      5. การอภิปรายเชิงวิชาการ และการบรรยายพิเศษ
ฝวก.ยศ.ทร. เป็นหน่วยดำเนินการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งการเทศนาทางธรรม แก่ นทน. ทุกหลักสูตร เพื่อให้ นทน. ได้รับความรู้ มีวิสัยทัศน์ ก้าวทันต่อสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลง และได้รับทราบความคิดเห็นในแง่มุมที่แตกต่างกัน       
      6. การฝึกปฏิบัติ

เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มพูนทักษะ ให้ นทน. มีความสามารถปฏิบัติได้จริง เกิดประสบการณ์ มีความมั่นใจในการนำไปปฏิบัติได้จริง ภายหลังจากที่ทำการศึกษาด้วยวิธีการบรรยาย/การอภิปรายเป็นคณะ เรียบร้อยแล้ว       
       7. การแก้ปัญหารายบุคคล

เป็นวิธีการประเมินผลการเรียน เพื่อทดสอบสติปัญญา ความรู้ ทางด้านวิชาการ เพื่อนำไปประมวลผลรวมกับคะแนนต่างๆของหัวข้อวิชานั้น และรวมเป็นชุดวิชาต่างๆต่อไป       
      8. การดูกิจการและศึกษาภูมิประเทศ

เป็นการนำนายทหารนักเรียนไปชมกิจการของหน่วยต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาเสริมสร้างประสบการณ์ เกิดความรอบรู้ในด้านต่างๆมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ นทน. ระหว่างการศึกษา รวมทั้งในการปฏิบัติงานตามหน่วยต่างๆเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว

****************************************


การประเมินผลการศึกษา    
รร.ชต.ยศ.ทร. ดำเนินการประเมินผลการศึกษาของ นทน. โดยปฏิบัติตามระเบียบ ยศ.ทร. ว่าด้วยสถานศึกษาสำหรับนายทหารสัญญาบัตร พ.ศ.๒๕๕๒ หมวด ๒ การประเมินผล และระเบียบ ยศ.ทร. ว่าด้วยการดำเนินการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งมิได้จัดการศึกษาเป็นภาค   (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ ดังนี้

  1. การประเมินผล นทน. ดำเนินการ ๒ ด้าน ได้แก่ การประเมินผลด้านการศึกษา และการประเมินผลด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล
  2. ประเมินผล นทน. จากผลการสอบวัดความรู้ โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน หรือจากผลงานดังต่อไปนี้มาทำการประเมินผล ได้แก่

          - การสอบเป็นรายบุคคล หรือการแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล
          - การแก้ปัญหาเป็นคณะ
          - วิธีการอื่นๆตามความเหมาะสมกับการศึกษาของแต่ละหลักสูตร เช่น การฝึกยุทธกีฬา การฝึกร่วม การเขียนเอกสาร และบทความทางวิชาการตามที่หลักสูตรกำหนด
      3.  การสอบวัดความรู้จะกระทำในระหว่างการศึกษา หรือเมื่อจบการศึกษาในแต่ละวิชา โดยอาจารย์ที่สอนในวิชานั้น หรือจากฝ่ายวิชาการ หรือกรรมการที่ทางโรงเรียนแต่งตั้ง
      4.  การกำหนดระดับคะแนน

ระดับคะแนน
ระดับอักษร

๔.๐

A

๓.๗

A-

๓.๓

B+

๓.๐

B

๒.๗

B-

๒.๓

C+

๒.๐

C

๑.๗

C-

๑.๓

D+

๑.๐

D

๐.๐

F

ไม่คิดระดับคะแนน

*D


      5. หลักการให้คะแนนเป็นการผสมผสานกันระหว่างอิงกลุ่ม (NORM REFERENCE) อิงเกณฑ์ (CRITERION REFERENCE)  รายละเอียดตาม ผนวก จ หลักการให้ระดับคะแนน ตามระเบียบ ยศ.ทร. ว่าด้วยสถานศึกษาสำหรับนายทหารสัญญาบัตร พ.ศ.๒๕๕๒

      6. กรณีขาดสอบโดยมีเหตุจำเป็น หรือเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ให้ นทน. รายงานถึง     ผบ.รร.ฃต.ยศ.ทร. เพื่อขออนุมัติสอบวิชานั้นเป็นกรณีพิเศษภายใน ๓ วัน นับจากวันที่มาศึกษาตามปกติ หรือนับจากวันสอบที่กำหนดไว้ในตารางสอน โดยโรงเรียนจะประสานฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ผู้สอน เพื่อดำเนินการจัดให้มีการสอบในวิชานั้น และให้คิดคะแนนสอบได้ไม่เกินร้อยละ ๘๕ ของคะแนนที่สอบได้จริง

      7.หาก นทน. ได้รับคะแนน “0” หรือ “F” ในชุดวิชาใดให้อาจารย์ผู้สอนในชุดวิชานั้น หรือผู้แทนจากฝ่ายวิชาการ และผู้แทนของโรงเรียน ดำเนินการให้ นทน. สอบแก้ตัว ละเมื่อผ่านเกณฑ์แล้วจะให้ได้ระดับอักษร “D” ทั้งนี้ นทน. จะได้รับการพิจารณาสอบแก้ตัวได้ไม่เกิน ๓ ชุดวิชา และหากสอบแก้ตัวไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ได้ระดับคะแนน “0” หรือระดับอักษร “F” อีก ให้โรงเรียนพิจารณาส่งตัวกลับสังกัดเดิม

       8.การขาดสอบโดยไม่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย ให้ได้ระดับคะแนน “0” หรือระดับอักษร “F” ในหัวข้อวิชานั้น รวมถึงการทุจริตในการสอบด้วยเช่นกัน แต่ในกรณีนี้ให้โรงเรียนพิจารณาส่งตัวกลับสังกัดเดิม

      9. ระดับคะแนนเฉลี่ยได้มาจากการนำผลคูณของระดับคะแนนกับหน่วยกิต ของแต่ละชุดวิชารวมกัน ทุกชุดวิชา แล้วหารด้วยหน่วยกิตรวมของหลักสูตรนั้น โดยคิดทศนิยมอย่างน้อย ๒ ตำแหน่ง

      10. เกณฑ์คิดระดับคะแนนเฉลี่ย  

ระดับคะแนนเฉลี่ย

ผลการศึกษา

๓.๕๐-๔.๐๐

ดีมาก

๓.๐๐-๓.๔๙

ดี

๒.๐๐-๒.๙๙

พอใช้

๑.๐๐-๑.๙๙

ไม่พอใช้